วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สมองกลีบข้าง (Parietal lobe)

ภาพแสดง: Parietal lobe
ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Parietal_lobe_-_animation.gif
        สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559
        อยู่ทางด้าน dorsolateral surface จะอยู่ระหว่าง central
sulcus และเส้นสมมุติที่ลากผ่านจาก parieto-occipital fiffure
ไปยัง pre-occipital notch ส่วนขอบเขตทางด้านล่างคือ lateral
sulcus กับเส้นที่ลากต่อไปประมาณตอนกลางของเส้นสมมุติเส้นแรก 
มีหน้าที่รับรู้การสัมผัส การเจ็บร้อนเย็น จากร่างกายซีกตรงข้าม ถ้าผิดปกติ
จะมีการชาด้านตรงข้ามกับสมองที่มีปัญหา


ภาพแสดง: ขอบเขตของ Parietal lobe
ที่มา: http://slideplayer.com/slide/4280841/
       สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559
 

Parietal lobe  แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1.Post central gyrus

       เป็นบริเวณที่มีหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของการรับ “ความรู้สึก”

(sensory) จากร่างกายมาเริ่มแปลในสมอง มีหลายชื่อได้แก่

*      Primary sensory area

*      Postcentral gyrus

*      Brodmann’s area 312

ภาพแสดง: Post central gyrus

ที่มา:  http://scienceblogs.com/thoughtfulanimal/2010/06/30/ask-a-scienceblogger-sensation/
        สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559

       พยาธิสภาพส่วนนี้ทำให้เกิดการสูญเสียการรับสัมผัส การสั่น
สะเทือนและการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกตรงข้าม
      ภาพแสดง: Somatosensory Map
      ที่มา : http://alinenewton.com/neuroscience-of-touch-touch-and-the-brain/
              สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559

2. Superior parietal lobule 


    มีหลายชื่อได้แก่

*      parietal association area

*      Brodmann’s area 5,7

       คือคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์ (somatosensory

association cortex) ซึ่งประสานข้อมูลความรู้สึกจากคอเทกซ์รับ

ความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (รวมทั้งอุณหภูมิและแรงกดเป็นต้น) เพื่อที่จะ

สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุที่กำลังสัมผัส

       พยาธิสภาพของบริเวณนี้ทำให้ เกิด astreognosis และ

neglect syndrome เป็นความผิดปกติของการรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่าง

กายซีกตรงข้ามและสิ่งรอบๆตัว ผู้ป่วยอาจจะสามารถสัมผัสและรับสัมผัส

ของสิ่งของ แต่ไม่สามารถบอกได้สิ่งของนั้นคือ อะไร หรือถ้าเกิดพยาธิ

สภาพที่ซีกซ้ายของสมอง ผู้ป่วยจะไม่ใส่ใจร่างกายซีกขวา เป็นต้น


ภาพแสดง: Superior parietal lobule 
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Gray726_superior_parietal_lobule.png
        สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559

3.  Inferior parietal lobule


     ประกอบด้วย

     Angular gyrus /Brodmann’s area 39

        เป็นเขตสมองที่มีบทบาทในการประมวลผลเกี่ยวกับภาษา การ

ประมวลผลเกี่ยวกับตัวเลข การรู้จำปริภูมิ (spatial cognition) การ

ค้นคืนความจำ ความใส่ใจ และการรู้จักตนและผู้อื่น

ภาพแสดง: Brodmann’s area 39
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Animations_using_BodyParts3D_
polygon_data สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559

        Supramarginal gyrus  หรือ Brodmann’s area 40
 
        มีบทบาทในการรักรู้และการประมวลผลทางภาษา รอยโรคในสมอง

เขตนี้อาจทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความศูนย์รับความรู้สึก (Receptive

aphasia) หรือ trascortical sensory ถ้ามีพยาธิสภาพจะเกิดภาวะ

aphasia คืออ่านไม่เข้าใจความหมาย สะกดตัวหนังสือไม่ออก อ่านไม่ออก

(Alexia) ผู้ป่วยอ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจความหมายของคำ



     ภาพแสดง: Brodmann’s area 40
     ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Animations_using_BodyParts3D_
     polygon_data สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559


   เส้นเลือดที่มาเลี้ยง


       1.  Anterior cerebral artery

       2.  Middle cerebral artery







       


วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

    กลีบสมอง (Lobes of the brain)

    เป็นส่วนหนึ่งของสมอง ในการแบ่งกลีบของสมองในระยะดั้งเดิม เป็นการแบ่งตามลักษณะทางกายวิภาคซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่ต่างๆกันของสมองเรียกว่า cerebrum(Telencephalon)  ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์ แบ่งออกได้เป็นกลีบต่างๆ ดังนี้
ภาพแสดง : Lobes of the brain
ที่มา : http://teachmeanatomy.info/neuro/structures/cerebrum/
        สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559

1. สมองกลีบหน้า (Frontal lobe)



ภาพแสดง : Lobes of the brain

ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Frontal_lobe.gif
        สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559



     เป็น lobe ที่ใหญ่ที่สุดของสมอง ขอบเขตหลังติดกับ Parietal lobe แบ่งกันที่ Central sulcus ขอบเขตด้าน inferior คือ lateral sulcus ติดกับ Temporal lobe ประกอบด้วย gyrus สำคัญ 4 gyrus คือ precental gyrus (gyrus ที่ทอดขนานกับ central gyrus) กับ gyrus ที่ทอดตามแนว horizontral 3 อัน คือ superior frontal gyrus, middle frontal gyrus และ inferior frontal gyrus โดยมี superir frontal sulcus และ inferior frontal sulcus ทอดประมาณตั้งฉากกับ precentral gyrus เป็นร่องที่แบ่งจาก superior มายัง inferior ตามลำดับ

               ภาพแสดง : Lobes of the brain

               ที่มา : http://clinicalgate.com/the-telencephalon/ สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559


หน้าที่ของสมองส่วนหน้า

               ภาพแสดง : Brodmann 's area ที่สำคัญของสมองส่วนหน้า

               ที่มา : http://slideplayer.com/slide/4281080/ สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559

1. Prefrontal area : 

        เกี่ยวกับความคิดเปรียบเทียบถูกผิด ดี เลว การวางแผน การตัดสินใจ การแสดงออกทางพฤติกรรม บุคลิกภาพ
        lesion : frontal release signs (palmar grasp reflex, glabellar reflex) mental disorder

2. Frontal eye field :

        ทำหน้าที่เลือกมองเป้าหมาย และกวาดตามอง (succade)
        lesion : จะมองไปฝั่งเดียวกับที่มี lesion หรือฝั่งตรงข้ามถ้า
ถูกกระตุ้น (seizure)

   3. Premotor cortex :

        ทำหน้าที่วางแผนการเคลื่อนไหว (motor program)      
        lesion: apraxia (เสีย learning motor skill จะเคลื่อนไหวไม่ได้ตามต้องการแม้ว่ากล้ามเนื้อจะไม่อ่อนแรง), deficit ของ fine motor control (serial movement)

4. Primary motor cortex : 

        มีอาการ hemiparesis ตาม motor map เช่น anterior cerebral distribution จะ weakขา แขน แต่ถ้าเป็น middle cerebral distribution จะ weak แขน ขา

 

                 ภาพแสดง: homunculus : motor map 
                 ที่มา : http://ergoldbook.blogspot.com/2012/07/localization-of-neurosign.html
                                 สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559


     5. Broca's area :

         รับข้อมูลจาก wernicke’s area แล้วนำไปสร้างคำพูด อยู่สมองด้าน dominant ทำหน้าที่สร้างอารมณ์และจังหวะในการพูด (non-dominant); lesion: motor aphasia (ผลิตคำพูดไม่ได้-อยากจะบอก(broc)แต่บอกไม่ได้), monotone speech


    หลอดเลือดที่มาเลี้ยงสมองส่วนหน้า


          Anterior cerebral artery


          Middle cerebral artery



                   ภาพแสดง: homunculus : motor map 
               ที่มา : http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/cva/brain_ana.html
                              สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559



วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กายวิภาค...สมอง

สมองของคนเราสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

ภาพแสดง : การแบ่งส่วนต่าง ๆ ของสมอง
ที่มา : http://www.adsi.info/forebraintechnique.htm สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559

สมองส่วนหน้า (Forebrain) ประกอบด้วย

  1. ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb)                                                  

          อยู่ด้านหน้าสุดทำหน้าที่ดมกลิ่นลา กบ และสัตว์เลื้อยคลาน สมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในส่วนนี้จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก   
        

ภาพแสดง : Olfactory buld
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Olfactory_bulb สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559

    2. ซีรีบรัม (Cerebrum)     

             เป็นส่วนของสมองที่ใหญ่ที่สุด อยู่ด้านหน้าและด้านบนสุดของสมอง แบ่ง เป็น 2 ด้าน คือซ้ายและขวา มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวทั้งหมด (โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวที่ไม่ใช่จากระบบประสาทอัตโนมัติ) ของอวัยวะทุกชนิดของร่างกาย การรับรู้ความรู้สึกต่างๆ การได้กลิ่น การพูด การสื่อสาร การเรียน การเข้าใจ และความจำ แบ่งเป็น 3 ส่วนที่เกี่ยวพันกันที่มีอยู่ทั้ง 2 ด้านของสมองซ้ายและขวา เช่นกัน คือ สมองใหญ่ส่วนนอก (Cerebral cortex), Basal ganglia หรือ Basal nuclei, และ Limbic system
ภาพแสดง : Cerebrum
ที่มา :http://dsguide.biz/reader/tag/deep-learning?page=6 สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559
         แบ่งเป็นสองซีกแต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พู ดังนี้
         1.   Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวการออกเสียงความคิดความจำสติปัญญาบุคลิกความรู้สึกพื้นอารมณ์
       2.   Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยินการดมกลิ่น
       3.   Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
       4.   Parietal lobeทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัสการพูดการรับรส

ภาพแสดง : Lobe ของสมอง
ที่มา :http://visions419.rssing.com/chan-24754465/all_p8.html สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559



     3. ทาลามัส (Thalamus)


               อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆ ในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวดทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด


      4. ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus)

               ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติและสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือดและยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกายอารมณ์ความรู้สึกวงจรการตื่นและการหลับการหิวการอิ่มและความรู้สึกทางเพศ


ภาพแสดง : thalamus
ที่มา :https://www.emaze.com/@AOWLLCCT/The-Brain สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559

สมองส่วนกลาง (Midbrain)


               เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้าเป็นสถานีรับส่งประสาทระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลากบฯลฯในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน

สมองส่วนท้าย (Hindbrain)

        1.   พอนส์ (Pons)

           อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัมติดกับสมองส่วนกลางทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกายเช่นการเคี้ยวอาหารการหลั่งน้ำลายการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าการหายใจการฟัง

         2.   เมดัลลา (Medulla)

            เป็นสมองส่วนท้ายสุดต่อกับไขสันหลังเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลังเป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจเช่นไอจามสะอึกหายใจการเต้นของหัวใจเป็นต้น

        3.   ซีรีเบลลัม (Cerebellum)

            อยู่ใต้เซรีบรัมควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
             ภาพแสดง : Hindbrain
             ที่มา :https://thesalience.wordpress.com/neuroscience/the-human-nervous
                    system-2/structure/hindbrain/ สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559