สมองกลีบข้าง (Parietal lobe)
ภาพแสดง: Parietal lobe
ที่มา:
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Parietal_lobe_-_animation.gif
สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559
|
อยู่ทางด้าน dorsolateral surface จะอยู่ระหว่าง central
sulcus และเส้นสมมุติที่ลากผ่านจาก parieto-occipital
fiffure
ไปยัง pre-occipital notch ส่วนขอบเขตทางด้านล่างคือ lateral
sulcus กับเส้นที่ลากต่อไปประมาณตอนกลางของเส้นสมมุติเส้นแรก
มีหน้าที่รับรู้การสัมผัส การเจ็บร้อนเย็น
จากร่างกายซีกตรงข้าม ถ้าผิดปกติ
จะมีการชาด้านตรงข้ามกับสมองที่มีปัญหา
ภาพแสดง: ขอบเขตของ Parietal lobe
ที่มา: http://slideplayer.com/slide/4280841/
สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559
|
Parietal lobe แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.Post central gyrus
เป็นบริเวณที่มีหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของการรับ “ความรู้สึก”(sensory) จากร่างกายมาเริ่มแปลในสมอง มีหลายชื่อได้แก่
Primary sensory area
Postcentral gyrus
Brodmann’s area 312
ภาพแสดง: Post central gyrus
ที่มา:
http://scienceblogs.com/thoughtfulanimal/2010/06/30/ask-a-scienceblogger-sensation/
สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559
|
พยาธิสภาพส่วนนี้ทำให้เกิดการสูญเสียการรับสัมผัส
การสั่น
สะเทือนและการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกตรงข้าม
ภาพแสดง: Somatosensory Map
ที่มา : http://alinenewton.com/neuroscience-of-touch-touch-and-the-brain/
สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559
2. Superior parietal lobule
มีหลายชื่อได้แก่
parietal association area
Brodmann’s
area 5,7
คือคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์ (somatosensory
association cortex) ซึ่งประสานข้อมูลความรู้สึกจากคอเทกซ์รับ
ความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ
(รวมทั้งอุณหภูมิและแรงกดเป็นต้น) เพื่อที่จะ
สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุที่กำลังสัมผัส
พยาธิสภาพของบริเวณนี้ทำให้ เกิด astreognosis และ
neglect syndrome เป็นความผิดปกติของการรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่าง
กายซีกตรงข้ามและสิ่งรอบๆตัว
ผู้ป่วยอาจจะสามารถสัมผัสและรับสัมผัส
ของสิ่งของ แต่ไม่สามารถบอกได้สิ่งของนั้นคือ
อะไร หรือถ้าเกิดพยาธิ
สภาพที่ซีกซ้ายของสมอง ผู้ป่วยจะไม่ใส่ใจร่างกายซีกขวา
เป็นต้น
ภาพแสดง: Superior parietal lobule
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Gray726_superior_parietal_lobule.png
สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559
|
3. Inferior parietal lobule
ประกอบด้วย
Angular gyrus /Brodmann’s area 39
เป็นเขตสมองที่มีบทบาทในการประมวลผลเกี่ยวกับภาษา
การ
ประมวลผลเกี่ยวกับตัวเลข การรู้จำปริภูมิ (spatial cognition) การ
ค้นคืนความจำ ความใส่ใจ และการรู้จักตนและผู้อื่น
ภาพแสดง: Brodmann’s area 39
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Animations_using_BodyParts3D_
polygon_data สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559
|
Supramarginal gyrus หรือ Brodmann’s area 40
มีบทบาทในการรักรู้และการประมวลผลทางภาษา
รอยโรคในสมอง
เขตนี้อาจทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความศูนย์รับความรู้สึก (Receptive
aphasia) หรือ trascortical
sensory ถ้ามีพยาธิสภาพจะเกิดภาวะ
aphasia คืออ่านไม่เข้าใจความหมาย สะกดตัวหนังสือไม่ออก อ่านไม่ออก
(Alexia) ผู้ป่วยอ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจความหมายของคำ
ภาพแสดง: Brodmann’s area 40
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Animations_using_BodyParts3D_
polygon_data สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559
เส้นเลือดที่มาเลี้ยง
1. Anterior cerebral artery
2. Middle cerebral artery